16 มกราคม 2565

สถานีกลางบางซื่อ เราไปแบบไม่เป็นทางการหลายๆ ครั้ง ครั้งนี้ไปแบบเป็นทางกับคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพ โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคมนาคมและระบบราง, ผู้แทนสภาวิศวกร, สถาบันการศึกษาและภาคีเครือข่ายภาคประชาชนร่วมสำรวจ, เราแนะนำอะไรไปบ้าง
1. การซ้อมหนีภัย ที่ “ทุกคน” ต้องมีส่วนร่วม (นโยบายจาก ARL เดิม)
2. การเข้าถึงอาคาร จากด้านหน้า ขอให้ทำเป็นทางลาดตลอดแนวรอบอาคาร
3. ห้องน้ำ หลายๆ รายการผ่านกฏหมาย แต่การใช้จริงมีปัญหา เช่น อ่างล้างหน้า เป็นแบบที่ด้านล่างคนนั่งรถเข็นเข่าติด, การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่สะดวก เช่น ราวจับไม่แข็งแรง บางจุดต้องเป็นแบบพับขึ้นแนวดิ่ง(เพื่อเปิดพื้นที่ให้โล่งที่สุด), ถังขยะเป็นแบบเหยียบเปิดฝา-ไม่ถูกต้อง, ไม่มีเตียงเปลี่ยนพยาบาล(ไม่มีในกฏกระทรวง แต่ควรต้องมีเพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงกว่า)
4. คุณภาพการก่อสร้างโดยรวม กระเบื้องปูพื้น(ได้รับการชี้แจงว่า ช่วยทำความสะอาดอาคาร เกิดความผิดพลาด เพราะเอารถดับเพลิงมาฉีดน้ำล้างพื้น), ฝ้าอาคารที่บวมแล้ว
5. ชานชาลารถไฟ ที่ยังไม่มีผนังกันตก ผมแนะนำให้ใช้แนวคิดจากญี่ปุ่น คือ ผู้โดยสารต้องหยุดรอรถแบบหันข้างให้กับราง (ป้องกันกลุ่มคนใช้ล้อ) เลื่อนไถลลงราง

ส่วนตัวผมเห็นว่า การสำรวจแบบนี้ดีมากๆ เพื่อตรวจสอบในขั้นตอน “หลังสร้าง” ว่ามีคุณภาพ ดีแค่ไหน
แต่สำคัญมาก มากๆ (ย้ำ) มากกว่าคือ การร่วมกันทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบก่อนสร้าง

ฝั่งภาคีคนพิการจะเร่งลุยทำเอกสารส่งให้กรมราง เพราะจะมีประชุมระดับคณะรัฐมนตรีเร็วๆ นี้ครับ

ขอบคุณภาพจากกรมราง: https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/1082217849221825

 

ภาพ ถ่ายร่วมกันหลังสำรวจ

 

ภาพ คณะสำรวจหารือหน้าอาคาร

 

ภาพ คณะสำรวจในอาคาร กำลังมองฝ้าเพดานอาคาร

 

ภาพ คณะกำลังเดินสำรวจ