ตามที่เราได้ขอเข้าพบท่านรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และท่านได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาฯ มาร่วมประชุม > เราได้เรียนเชิญท่านลงพื้นที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีนนทบุรี 1 เพื่อดูปัญหา การเข้าถึงเป็นข้อมูลตั้งต้น ณ วันที่ลงพื้นที่ เกิดการนัดหมายเพื่อประชุมกับหน่วยงานที่เป็นผู้สร้างระบบ > เราร่วมกันประชุมที่ รฟม ตกลงกันว่า เราตั้งคณะทำงานชุดเล็กเพื่อทำงานร่วมกัน…

วันนี้เป็นการประชุมคณะทำงานครั้งแรกครับ เพื่อตรวจสอบข้อมูล ‘การเข้าถึง’ ระบบรถไฟฟ้าสายสีใหม่ๆ ที่กำลังสร้าง

วันนี้เราดูข้อมูลสายสีส้ม (ฝั่งตะวันออก) รายละเอียดตามนี้ครับ:
1. คณะที่ปรึกษาเตรียมข้อมูลมาดีมาก ทำให้เราเสียเวลาดูแบบน้อยมากๆ
2. กายภาพสถานีส่วนใหญ่มีความยาว 150 เมตร สถานีเกือบทั้งหมดมีลักษณะไม่ซับซ้อน คือ มี 4 ทางเข้าออกและมีลิฟท์ให้ฝั่งละตัว (4:2)
และเป็นที่น่าดีใจว่าบางสถานี เช่น สถานีรามคำแหง 12 (OR16) ‘มีลิฟท์ ทุกทางเข้าออก‘ (4:4) เพราะ รฟม พิจารณาติดลิฟท์เพิ่มเติมให้ในช่วงแก้ไขแบบ ‘เนื่องจากเห็นว่าจำเป็น‘ เพราะสถานีเชื่อมต่อกับท่าเรือ, สถานีแยกลำสาลี (OR20) มีทั้งหมด 6 ทางเข้าออก มีการติดตั้งลิฟท์และทางลาดให้แล้ว 4 และยังจะเพิ่มอีกเพราะจะมีสายสีเหลืองมาเชื่อมทำให้ลิฟท์เพิ่มขึ้น ต้องขอบพระคุณและชื่นชม รฟม ครับ

3. เราพิจารณาข้อมูลการเข้าถึงส่วนต่างๆ รวมถึงกายภาพของสถานีและถนน สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ ทั้งหมด 17 สถานี ข้อมูลที่ดูกันบนโต๊ะนี้สรุปได้เบื้องต้นว่า ‘การเข้าถึงไม่มีปัญหาใดๆ มีการพิจารณาการติดตั้งลิฟท์ระหว่าง 2 ฝั่งถนนใหม่ ที่เมื่อก่อนติดตั้งทะแยง ตอนนี้ติดตั้งในทางเข้าออกที่ใกล้กัน เพื่ออื้อให้ ระยะทางสั้นลง คนพิการ ‘ข้ามฝั่ง’ ได้ง่ายขึ้น ถือว่ามีการพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก ถือเป็นข่าวดีมาก วันนี้ผมบอกกับทุกคนว่า ผมกลับบ้านนอนฝันดีแล้วครับ…

ถือเป็นการร่วมมือกันทำงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้ส่วนได้เสียโดยตรง ที่จะแก้ปัญหาตรงจุด และขอให้เชื่อเถิดว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ขอขอบพระคุณคณะทำงาน:
– รฟม
– ที่ปรึกษาจากก่อสร้างจากสัญญา 1,2,3,4
– ผู้แทนจากสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
– ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
– Accessibility Is Freedom
– Global Shapers Bangkok

ภาพรวมเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก

ภาพแบบผัง drawing สถานี